7 ข้อที่ทำให้ SME ไปไม่รอด
จากประสบการณ์ส่วนตัวที่คลุกคลี SME มาเกือบ 10ปี มีข้อเตือนใจดังนี้
1. ไม่มีความเป็นเจ้าของธุรกิจ บางคนแค่อยากทำหรืออาจะมีไอเดียเรื่องสินค้า บริการ แต่ไม่ยอมเรียนรู้ว่าถ้าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ ควรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรที่สำคัญ ขาด หัวใจแห่งความเป็นเจ้าของ ที่ต้องเด็ดขาด มุ่งมั่น โดยเฉพาะเรื่อง การค้าขาย กำไรขาดทุน การหาคนร่วมงาน การบริหาร การเงิน การคิดต้นทุน หลายคน ไม่สามารถแยกต้นทุน กับกำไรออกมาได้ด้วยซ้ำ แต่ที่สำคัญคือต้องรู้ว่านี่มันคือบริษัทของเรา อะไรที่ต้องขายได้ อะไรที่ต้องเอาหรือไม่เอา ไม่มีเวลาพักหรือหยุดเพราะมันคือนาฬิกาแห่งธุรกิจที่เราต้องรู้จักบริหารให้ชนะใจลูกค้าและชนะการแข่งขัน ผมเคยมีเจ้านายที่เป็นเจ้าของธุรกิจที่มียอดกว่า 10,000 ล้าน แกบอกว่า แกรู้จักเพียงแค่ หลักรายการบัญชี คือ ราคาขาย ต้นทุนขาย ค่าโสหุ้ย ภาษี และกำไรต่อหน่วย แกบอกว่าแกรู้แค่นี้ แต่เมื่อถึงบรรทัดสุดท้ายแล้วมันต้องเหลือพอที่จะเดินต่อไป เก็บเงินเป็นกระสุนให้เราทำงานต่อได้ และรู้ตรงไหนน่านน้ำของเรา ใครก็เข้ามาแย่งไม่ได้ดังนั้น ไม่ได้เกี่ยวกับว่าคุณจบอะไรมา จบสูงก็ไม่ได้ช่วยให้รอด ถ้าคุณยังไม่มีจิตใจแห่งการเป็นเจ้าของ
2. คิดคำนวณเรื่อง กำไรผิด หลายธุรกิจขายไปแล้ว กำไรยิ่งหาย เพราะคำนวณ ที่เรียกว่า กำไรต่อหน่วย หรือ Net profit ผิด อันนี้ยิ่งขายมาก ก็ยิ่งเจ๊งเร็วมากเท่านั้น สิ่งที่สำคัญอีกข้อนึงก็คือ การบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด และแยกหมวดหมู่ให้ถูกต้องจะทำความเข้าใจต่อต้นทุนก่อนที่จะมาทำราคามีความคลาดเคลื่อนน้อย และเข้าใจที่มาที่ไปของลักษณะธุรกิจตัวเองอย่างจริงๆ การแยกค่าใช้จ่ายของตัวเองออกจากธุรกิจจะทำให้มองเห็นภาพได้ดีมากกว่า และรู้ว่าอะไรคือต้นทุนแฝงหรือค่าใช้จ่ายแฝงอีกด้วย
3. นักเริ่มต้น อาจจะไม่ใช่นักสานต่อ หลายๆคนที่เป็นผุ้เริ่มต้นในธุรกิจ SME เป็นนักคิด นักสร้าง มีพลังงานในการเริ่มธุรกิจได้ดี แต่ว่า ขาดความรู้ในการที่จะสร้างให้ยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มาจากเรื่องของความตั้งใจและทัศนคติเป็นอันดับแรก และตามด้วยการศึกษาอย่างจริงจัง ในการที่ต้องเข้าใจเรื่องของ การพัฒนาธุรกิจ เพราะการขยายให้ธุรกิจยืนหยัดได้อย่างแท้จริงนั้นแตกต่างจากภาพเริ่มต้น หลายคนมักไปเริ่มพัฒนาสินค้าใหม่ หรือบริการใหม่ และทิ้งสิ่งที่เป็นหัวใจหลักที่ตัวเองได้เงิน ทำให้ธุรกิจเดิมเกิดการบริหารที่ผืดพลาด และเสียเงินลงทุนโดยใช่เหตุ
4. ขาดการวางเป้าหมายในระยะยาว หลายคนทำงานแบบปีต่อปี ไม่มีการมองเป้าหมายในระยะยาว ทำให้ SME โตได้ช้า พอโตช้า ทำให้เกิดปัญหาเรื่องทั้งขาดสภาพคล่อง และจิตใจที่เริ่มหวั่นไหว ไม่อยากไปต่อ พอถึงจุดนี้ธุรกิจก็จะเริ่มไม่มีหัวเรือ จนถึงขาดสภาพคล่องและเกิดทางตันการวางเป้าหมายมักจะมาจาก mInset ที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เจ้าของกิจการ มีความท้าทาย และทำธุรกิจอย่างมีหลัก เพราะธุรกิจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกวัน ในขณะที่ลูกค้าต้องการบริการที่ดี แต่ราคาที่ถุกลง ดังนั้น mindset ที่ถุกต้องจะนำพาให้เจ้าของ SME สามารถค้นหาวิธีการใหม่ๆเพื่อปรับตัวได้กับโลกการแข่งขัน รวมไปถึง การวางเป้าหมายระยะยาวจะบังคับให้เขา ต้องตั้งเป้าในการสร้างผลกำไรที่เพียงต่อต่อการไปต่อของธุรกิจได้อย่างแท้จริง
5. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในยุคของ Startup เฟื่องฟู นั้น เป้นตัวสะท้อนถึงสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยี่เข้ามาเปลี่ยนโลกอย่างแท้จริง ต่อให้เจ้าของกิจการจะเป็นคนยุคไหนก็ช่าง คุณย่าในวัย 70 ยังต้องใช้ไลน์ แล้วคุณจะไม่รับเทคโนโลยี่ใหม่เลย เป็นไปไม่ได้ ในอนาคต การเข้ามาทดแทนของเก่าตั้งแต่เรื่อง เอกสารดิจิตัล การเดินทางขนส่ง แม้แต่คนทำงาน มีโอกาสโดนทดแทนทั้งหมด ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลง ธุรกิจคุรก็จะโดนทดแทนด้วยสิ่งเหล่านี้อย่างแน่นอน
6. ขาดความสม่ำเสมอ การทำงานอย่างสมำ่เสมอในโลกธุรกิจไม่ต่างจากเราการวิ่งมาราธอน คุณเหนื่อยได้ พักได้ แต่ถ้าคุณไม่ควบคุมให้ดี ไม่ตั้งมั่นกับระดับการทำงานอย่างแน่วแน่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องการเงิน จะทำให้ธุรกิจ SME สามารถปิดตัวลงได้อย่างรวดเร็วเพราะ สายป่านของคนทำไม่ได้ยาวมากนัก บางธุรกิจไม่เกิน 3 เดือนด้วยซ้ำ และถ้าลองไม่มีกำไรเข้าเพียง2 เดือนนั้นหมายความว่า คุณมีโอกาสเพียงอีกเดือนเดียวเท่านั้นการกู้เงินระยะยสั้น ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบ ล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้นและโดยเฉพาะถ้าหลังบ้านไม่มีระบบที่ดีพอ ในวันที่หน้าย้านหรือคุรขายไม่ได้ เพียงเพราะคุณไม่สม่ำเสมอ คุณก็อาจจะปลิวได้เพียงแป๊บเดียว
7. ขาดทีมงานที่สนับสนุน การเริ่มต้นทำ SME ในช่วงแรกมักจะเริ่มต้นเพียง คนเดียวเสียส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่ท้าท้ายต่อนั่นก็คือ ใครจะร่วมหัวจมท้ายกะคุณต่อไป การหาคนที่จะไปกับเราจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Partner หรือ ทีมงานล้วนแต่ต้องมีเพราะมันยากที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเพียงคนเดียว ดังนั้น นอกจาก ความฝัน ความสามารถ แล้ว การมองในเรื่องของผลประโยชน์ร่วมกัน การรักษามิตรภาพ การดูแลทีมงาน รู้จักให้ รู้จักที่จะเสียมากกว่าในบางโอกาสเพื่อให้ทีมไปได้ หรือการควบคุมการทำงานร่วมกันอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

